ในยุคแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยียานยนต์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีความ
สำคัญต่อชีวิตประจำวัน ของมนุษย์มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในทุกๆ วัน เทคโนโลยีพลังงานและ
วิศวกรรมเคมีเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รศ. ดร. สิริวัชร์ ฉิมพาลี
รองศาสตราจารย์วิจัย จาก Department of Chemical Engineering, University of South Carolina
มลรัฐ South Carolina ประเทศสหรัฐ อเมริกา มีความเชี่ยวชาญในด้านระบบเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell)
ในรูปแบบ ต่างๆ เช่น PEMFC (Proton Exchange Membrane Fuel Cell) ด้วยผลงานการวิจัยจำนวน
มากและ รางวัลที่ ดร. สิริวัชร์ ได้รับ เขาจัดเป็นนักวิจัยชั้นนำคนหนึ่งที่นำความภาคภูมิใจให้กับ
ประเทศไทย
ดร. สิริวัชร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ University of South Carolina มลรัฐ South Carolina,
USA ระดับ ปริญญาโทจาก Bradley University รัฐ Illinois, USA และระดับปริญญาตรีจากมหาวิยาลัย-
เชียงใหม่ ปริญญาทั้งสามระดับ อยู่ในสาขา Mechanical Engineering นอกจากนี้ ดร. สิริวัชร์ ยังเป็นหนึ่ง
ในสมาชิกสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) ผู้เป็นกำลังสำคัญในการ
ถ่ายทอดความรู้และ เทคโนโลยีกลับสู่เมืองไทย
ต่อไปนี้ ดร. สิริวัชร์ จะบอกเล่าประสบการณ์การทำงาน และความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีใน ประเทศไทย แก่สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ
คำถาม อะไรที่จูงใจให้คุณเข้ามาศึกษาและทำงานในวงการ Mechanical Engineering
|
คงเป็นชีวิตความเป็นอยู่ตอนก่อนเข้ามหาวิทยาลัยที่ได้คลุกคลีกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ซึ่งเป็นส่วน
หนึ่งของธุรกิจ ครอบครัว ทำให้ผมมีความสนใจและอยากที่จะรู้ว่าเครื่องจักรยนต์ เหล่านั้นทำงานได้
อย่างไร โดยหลังจากศึกษาจบในระดับชั้นมัธยม ศึกษาปีที่หกจากโรงเรียนจิตรลดา ผมได้ถูกรับเลือก
เข้าไปศึกษาต่อระดับ อุดมศึกษาในคณะวิศวกรรมมศาสตร์เครื่องกล ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พอศึกษา
จบระดับปริญญาตรีก็มีโอกาสได้เข้าไปทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหนัก (heavy equipment
machinery) ให้กับ บริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งในช่วงเวลาสามปีที่ได้ร่วมงานกับ บริษัทนี้ ผมได้
มีโอกาสไปฝึกงานที่ประเทศเยอรมันนีและได้ เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านพลังงาน หมุนเวียน
(renewable energy) ได้เห็น ความสำคัญและเกิดความสนใจในพลังงานหมุนเวียน ผมจึงได้ตัดสินใจ
เดินทางมายังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อ มาศึกษาต่อในด้านนี้่ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของวิศวกรรมเครื่องกล
|
คำถาม ขอให้คุณช่วยบอกเล่าเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นล่าสุด หรืองานวิจัยที่มีผลต่อเนื่อง
ต่อสังคมมากที่สุด
|
สำหรับงานวิจัยชิ้นล่าสุดที่ผมเพิ่งทำเสร็จมีอยู่สามเรื่อง เรื่องแรกเป็นการศึกษาการลำเลียงต่างๆ ในหอเซลล์เชื้อเพลิง (Transport Phenomena in Fuel cell Stack) ซึ่งหัวข้อนี้เป็น หนึ่งในหัวข้อการ
วิจัยหลักของกระทรวงพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์ของงานวิจัยดังกล่าว คือ เพื่อ
นำผลการวิจัย ไปผลิตหอเซลล์เชื้อเพลิงรุ่นใหม่ที่สามารถควบคุมการสูญเสีย พลังงานและเพิ่มประสิทธิ
ภาพการทำงานให้ได้มากที่สุด
เรื่องที่สองคือการศึกษาการออกแบบแผ่นท่อทางเดิน เชื้อเพลิง (flow-field) ของเซลล์เชื้อเพลิงโดย
ใช้เทคโนโลยีที่มีชื่อว่า อีเล็คโตรเอทชิ่ง (electro-etching) บนแผ่นเหล็กสแตนเลส ซึ่งจะทำให้ต้นทุน
การผลิตลดลงมากกว่าครึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ เทคโนโลยีปัจจุบัน
เรื่องสุดท้าย เป็นงานวิจัยร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีวิจัยโลหะและวัสดุ แห่งชาติ หรือ National Metal and
Materials Technology Center (MTEC) โดยการวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยค้นคว้าหากลไกของ สารปนเปื้อน
ที่มีผลกระทบ กับประสิทธิภาพของหอเซลล์เชื้อเพลิง แบบออกไซด์แข็ง (solid oxide fuel cell)
ถ้าเป็นงานวิจัยที่มีผลต่อเนื่องต่อสังคมมากที่สุดก็คงจะเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เพราะ
เป็นผลงานตีพิมพ์ชิ้นแรกที่ แสดงผล การคำนวณทางคณิตศาสตร์แบบสามมิติซึ่งทำให้นักวิจัย
ด้านเซลล์ พลังงานได้รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในตัวเซลล์ระหว่างปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องทำงานทดลอง
(ตัวอย่างภาพที่1) ต่อมาก็ได้ถูกพัฒนา เป็นโปรแกรม ที่มีชื่อว่า Expert System for Proton Exchange
Membrane Fuel cell (es-pemfc) ซึ่งเป็นใช้กันแพร่หลายใน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหอเซลล์
เชื้อเพลิงทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย
|
คำถาม มีการศึกษาวิจัยที่น่าตื่นเต้นชิ้นใดที่ออกมาจากห้อง ทดลองของคุณบ้างในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
|
ผลงานที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็คงจะเป็นงานที่ทำร่วมกับ นักวิจัยชาวเยอรมัน เป็นงานค้นคว้า ร่วมกันระหว่าง
University of South Carolina, USA กับ Fraunhofer Institute for Solar Energy Systems, Germany
เพื่อพัฒนาหอเซลล์เชื้อเพลิงที่ นำไปใช้เป็นอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้า แบบพกพา (portable devices) ใน
การวิจัยดังกล่าวมีการแลกเปลี่ยนนักวิจัยระหว่างสองสถาบัน โดยทีมนักวิจัยจากห้องทดลองของผม
ได้รับมอบหมายให้ไป ประจำที่ห้องทดลองในประเทศเยอรมันนีเพื่อสร้างระบบจำลอง หอเซลล์เชื้อเพลิง
โดยใช้ผลการคำนวณทางคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีทีมนักวิจัยเยอรมันมาประจำที่ห้องทดลอง
ของผมเพื่อสร้าง ระบบเก็บข้อมูล ในชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบหอเซลล์เชื้อเพลิง และมีการแลกเปลี่ยนผล
การทดลองระหว่างห้องทดลองทั้ง สองแห่งด้วยอินเตอร์เนตความเร็วสูง นอกจากนั้น ผลงานวิจัย
ดังกล่าวยังได้ต่อยอดไปเป็นสินค้าในระบบอุตสาหกรรมของ บางประเทศในทวีปยุโรปอีกด้วย
|
คำถาม คุณคิดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า การค้นคว้าวิจัยใน สาขาของคุณจะเป็นในทิศทางใด
|
ผมคาดหวังไว้ว่าอีกสิบปีช้างหน้าควรจะถึงเวลาที่เทคโนโลยี นี้จะถูกนำมาใช้เป็นสินค้าอุตสาหกรรม
โดยตอนนี้การค้นคว้า วิจัยก็กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาและการสาธิต ภายในสิบปี ข้างหน้าก็คงเป็นช่วง
ของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไป ประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีทีใช้ในรถยนต์และ เครื่องบิน ตอนนี้งานวิจัยของเซล์เชื้อเพลิงก็จะเน้นเรื่องการลด ต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีการผลิต
|
คำถาม ในช่วงที่ผ่านมานี้ มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในวงการของคุณหรือไม่ และมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใดที่สามารถทำกลับมาประยุกต์ใช้ได้ในประเทศไทย
|
ผมอยากจะแบ่งเทคโนโลยีออกเป็นสองกลุ่มหลัก กลุ่มแรกคือ การพัฒนาวัสดุที่เป็นองค์ประกอบหลัก
ของเซลล์เชื้อเพลิง ก็จะมีเทคโนโลยีการผลิตแผ่นเยื่อ (membrane) ที่ทำให้มีความบางแต่คงทนและ
สามารถ นำโปรตอนได้ดีในทุกสภาพความชื้นและอุณหภูมิ เทคโนโลยีการสร้าง catalyst บน
membrane หรือบน gas diffusion layer โดยใช้วัสดุที่ไม่ใช่โลหะ (non precious metal catalyst)
ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนและสามารถ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีการผลิตแผ่น bipolar plate
ที่ทำมาจาก แผ่นเหล็กกล้าที่ไม่เป็นสนิม (stainless steel) แบบบางด้วยความเร็วสูงและไม้ให้เสียรูปและ
คุณสมบัติหลัก ปัจจุบันก็จะใช้การขึ้นรูปแบบ Stamping แต่ขณะนี้มี การพัฒนาเทคโนโลยีของ
Chemical Etching, Electrochemical Etching และ Hydro Forming
กลุ่มที่สองเป็นเทคโนโลยีการวิจัยพื้นฐาน (fundamental research or basic research) หากเราไม่มี
ผลวิจัยนี้ควบคู่ไปกับ การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ความสำเร็จก็คง เกิดขึ้นได้ยาก
ช่วงนี้นักวิจัยในสายงานนี้จะมุ่งไปที่การทำเข้าใจกับ การเดินทางของน้ำในเซลล์เชื้อเพลิงโดยเฉพาะ
ในแผ่นรูพรุนหรือ gas diffusion layer มีการสร้างอุปกรณ์การทดลองและโปรแกรม คำนวณทางคณิต-
ศาสตร์เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งกับชิ้นส่วนนี้ และส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถขจัด
น้ำขังในเซลล์
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถนำเอาประยุกต์ใช้กับ ประเทศไทย ได้โดยเฉพาะเทคโนโลยีการขึ้นรูป
ของแผ่น Stainless Steel เทคโนโลยีการทำวิจัยพื้นฐาน โปรแกรมคำนวณทาง คณิตศาสตร์ และ
เทคนิคการทำการทดลองโดยเฉพาะในเรื่องของ เซลล์เชื้อเพลิง
|
คำถาม ในความคิดของคุณ อะไรคืออุปสรรคในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ของประเทศไทย และเราจะจัดการกับอุปสรรคนี้อย่างไร
|
ในความคิดส่วนตัวนะครับ นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยใน ประเทศไทยมีความสามารถและศักยภาพ
ไม่ด้อยไปกว่าบุคลากร อเมริกาและยุโรป นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในบางสาขาอาจ เก่งกว่าด้วยซ้ำ
มีคนไทยจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอันดับ ต้นๆ ของโลกก็เยอะมาก แต่ที่การพัฒนาวิทยาศาสตร์
และ เทคโนโลยี ของประเทศไทยยังไม่เป็นที่น่าพอใจก็อาจเนื่องมาจาก
ข้อแรก นักวิทยาศาสตร์ไทยที่จบมามากกว่าร้อยละ 80 ไม่ได้ทำ วิจัยให้กับประเทศไทยในสายวิชาที่
ตนเองชำนาญอย่างแท้จริง เหตุผลอาจเป็นเพราะ การขาดเงินสนับสนุนในสายงานวิจัยที่ ตนเอง
ศึกษามา เนื่องจากสาขานั้นๆ ไม่ไดอยู่ในความสนใจของ สังคมและไม่ส่งผลใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งใน
ปัจจุบันและอนาคต หรือไม่นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยท่านนั้นๆ มุ่งแต่การสอนหรือ ธุรกิจจนไม่มีเวลา
ทำวิจัย
ข้อที่สอง คือ การขาดการทำวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัยชั้นนำ ภายในประเทศ ความร่วมมือทาง
การวิจัยที่มีอยู่ปัจจุบันนี้นั้นค่อน ข้างน้อย สถาบันวิจัยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การแข่งขันทางการวิจัย
กับสถาบันวิจัยอื่นๆ เสียมากกว่า ในทางกลับกัน ปัจจุบันนี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าโครงร่างการ
ทำวิจัยเพื่อขอเงิน สนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ หากไม่มีสถาบันอื่นและภาค อุตสาหกรรมให้ความ
ร่วมมือด้วย โอกาสที่จะได้รับเงินสนับสนุน ยากมาก
ประการสุดท้าย การทำการวิจัยตามกระแสนิยมเพื่อให้ได้จำนวน ผลงานตีพิมพ์มากๆ โดยไม่คำนึงถึงผล
ประโยชน์ของการพัฒนา ประเทศโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ จะทำให้นักวิจัยจำนวนมาก
ทำงานวิจัยตามกระแสนิยมของประเทศอื่นซึ่งไม่สามารถ หรือยากที่จะนำมาใช้ได้จริงกับประเทศไทย
|
Reference : http://www.ostc.thaiembdc.org/interview8.html
Leave a Reply