ในการประชุมประจำปีสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่เมือง
Seattle มลรัฐ Washington ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร. ชุลีพร จ่างจิต ศาสตราจารย์จาก Texas A&M
University – Corpus Christi มลรัฐ Texas เป็นหนึ่งในผู้บรรยายภายใต้หัวข้อ “Future of Global
Distance Learning” ได้แนะนำให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รู้จักกับเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ที่สามารถนำ
มาประยุกต์ใช้ในห้องเรียนเพื่อช่วยสนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารใน
ปัจจุบันนี้ เช่น Blackboard, Moodle, Sakai Project และเครื่องมืออีกหลายๆ ชนิด ทั้งที่เป็นที่รู้จักอยู่
แล้วในวงกว้างและที่เพิ่งเปิดให้มีการใช้งาน ผู้เข้าประชุมหลายๆ ท่านเห็นพ้องกันว่าข้อมูลที่ ดร. ชุลีพร
ได้แบ่งปันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้และมีประโยชน์อย่างมากต่อวงการการศึกษาของประเทศไทย
ดร. ชุลีพร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในสาขาบัญชี และมหาวิทยาลัย
รามคำแหงในสาขากฎหมาย ระดับปริญญาโทจาก University of Kentucky มลรัฐ Kentucky ประเทศ-
สหรัฐอเมริกาในสาขาบัญชี และระดับปริญญาเอกจาก University of Kentucky ในสาขา Decision
Science and Information Systems
ดร. ชุลีพร เป็นอาจารย์คนไทยอีกท่านหนึ่งซึ่งทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่สร้างชื่อเสียงให้แก่
ประเทศไทย นอกจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์จำนวนมากแล้ว อาจารย์ยังได้รับรางวัลและทุน
สนับสนุนจากหลากหลายองค์กร และยังได้รับเลือกเป็นบรรณาธิการให้กับผลงานวิจัยอื่นๆ อีกมากมาย
รวมทั้งเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ Journal of Information Privacy and Security (JIPS) ดร. ชุลีพร เป็นสมาชิก สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (ATPAC) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก
สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน หรือ OSTC ในการจัดการอบรมสัมมนาต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
ให้แก่ประเทศไทย ต่อจากนี้เป็นบทสัมภาษณ์และความคิดเห็นของ ดร. ชุลีพร กับประเด็นเทคโนโลยี การสื่อสารเพื่อการศึกษาสู่ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย
คำถาม คำถาม อาจารย์ศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขา บัญชีและกฎหมาย อะไรที่ทำให้อาจารย์เปลี่ยนมาเรียนและทำงาน ในสาขา Decision Science and Information Systems
|
ก่อนอื่น ขออนุญาตแทนตัวเองว่าพี่นะคะ คำว่าดิฉันฟังดูเป็นทางการมาก สาเหตุที่ทำให้พี่เปลี่ยน
มาเรียนในสาขาวิชา Information Systems นั้น ตอบแบบไม่อ้อมค้อมเลยนะคะ หลังจากเรียนจบ
ปริญญาโทในสาขาบัญชี พี่รู้สึกเบื่อตัวเลขมาก จริงๆแล้ว ตอนพี่มาเรียนต่อระดับปริญญาโท พี่ไม่ได้
คิดว่าจะเรียนต่อในระดับปริญญาเอก ด้วยซ้ำ ในตอนนั้นคิดเพียงแต่ว่ามาเรียนให้ได้ปริญญาโทแล้วก็
กลับไปทำงานต่อที่ประเทศไทยแต่ด้วยความที่เป็นคนช่างสงสัยและเมื่อสงสัยแล้วก็ต้องขอทดลองทำ แต่ต้องพิจารณาให้แน่ใจก่อนนะคะว่าไม่เป็นโทษต่อตัวเองหรือผู้อื่น ดังนั้น ขณะที่ศึกษาอยู่เทอมสุดท้าย
ในระดับปริญญาโท วิชาที่เหลือมักจะเป็นวิชาเลือก พี่ก็เกิดสงสัยว่าวิชาที่นักเรียนระดับปริญญาเอกเรียน
จะต่างกับวิชาที่เราเรียนอยู่หรือไม่ แล้ววิธีการสอนของอาจารย์จะแตกต่างกันไหม ถ้าไม่ลองก็คงไม่ได้รู้ พี่เลยลงทะเบียนเรียนวิชาของนักเรียนปริญญาเอกเสียเลย ในตอนนั้นเรียกได้ว่าก็พอเอาตัวรอดแบบ
ค่อนข้างสะบักสะบอม แต่ในที่สุดก็ผ่านเทอมสุดท้ายนั้นมาได้ ตั้งใจมั่นว่าจะได้กลับบ้านแล้วแน่ๆ เผอิญ
พี่มีโอกาสได้คุยกับหัวหน้าภาคแผนก Decision Science and Information Systems อาจารย์ท่านถามว่า ไม่คิดจะเรียนต่อระดับปริญญาเอกหรือ นอกจากมหาวิทยาลัยจะมีทุนการศึกษาให้แล้ว ท่านจะยกเว้นวิชา
ของปริญญาเอก ๓ วิชาที่ลงไปแล้วให้ด้วย พี่มาลองพิจารณาดู พี่จะต้องเรียนอีก ๘ วิชา ก็จะใช้เวลา
ประมาณ ๒ เทอมกับ ๑ ภาคฤดูร้อน นอกจากนั้น สาขา Information Systems ในขณะนั้นกำลังเริ่มเป็น
ที่สนใจก็เลยคิดว่าน่าทดลองเรียนดู ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ เวลากลับไปเมืองไทย คนจะเรียกเราว่า
ด๊อกเตอร์ ฟังดูเท่มาก แถมหลีกเลี่ยงการใช้นางสาวด้วย คิดแล้วมีประโยชน์ตั้งหลายอย่าง เพราะฉะนั้น พี่ก็ตัดสินใจไปยื่นใบสมัครเรียนในวันถัดมาเลย
|
** ดร. ชุลีพร ได้รับรางวัล the Texas A&M
System Student Recognition Award for Teaching
Excellence for academic ประจำปี 2010 – 2011
|
คำถาม ขอให้อาจารย์ช่วยบอกเล่าเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นล่าสุด หรืองานวิจัยที่มีผลต่อเนื่อง
ต่อสังคมมากที่สุด
|
คำถามนี้น่าสนใจนะคะ งานวิจัยในสาขาธุรกิจแม้ว่าจะมีความสำคัญต่อวิชาชีพและการเป็นอาจารย์ใน
ประเทศสหรัฐฯ แต่ก็คงเอามาเปรียบเทียบกับงานวิจัยในบางสาขาที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด เช่น งานวิจัย
ทางการแพทย์ไม่ได้ ทั้งนี้ พี่มองว่าเหตุผลประโยชน์และความจำเป็นของการทำวิจัยในสาขาธุรกิจมี
๓ ข้อ ดังนี้นะคะ
๑. งานวิจัยทำให้เราฝึกการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล การทำวิจัยไม่ว่าจะในหัวข้ออะไร ในการที่จะสรุปผล
ได้ เราต้องสามารถแจกแจงและพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อสรุปดังกล่าว มีที่มาและที่ไปอย่างไร ไม่ใช่การ
กล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆ
๒. พี่ชอบงานวิจัย ที่สามารถนำผลมาประยุกต์และปฎิบัติได้จริงยกตัวอย่างงานวิจัยล่าสุดที่พี่ทำ เป็นการ
หาปัจจัยที่จะทำให้การสอนผ่านสื่อออนไลน์มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้น ฟังดูเหมือนจะ
ไม่ยาก แต่ในการวิจัยนั้น การออกแบบรูปแบบของงานวิจัยนั้นต้องมีความรัดกุม ความยากของ
งานวิจัยทางในสาขาธุรกิจนั้น คือการควบคุมตัวแปร (control variables) จะเห็นได้ว่าตัวแปรของ
สาขานี้ ค่อนข้างจะพลิกแพลงได้ (subjective) ยกตัวอย่างเช่น พี่กำลังคิดค้นการสอนรูปแบบใหม่
ขึ้นมา พี่ต้องการสรุปว่าวิธีการสอนนี้ดีกว่าวิธีการสอนแบบเก่าอย่างไร การทำวิจัยที่ดีก็ต้องเริ่มตั้งแต่
เราเอาอะไรมาเป็นเครื่องวัดว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีนี้จะดีกว่า สมมุติว่าเราพิสูจน์ได้ว่านักเรียนที่เรียน
ด้วยวิธีใหม่เก่งกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีเก่าจริง ก็อาจจะยังสรุปไม่ได้ เพราะอาจจะมีคำถามต่อมาว่า
รู้ได้อย่างไรว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีใหม่ไม่ได้เก่งกว่าอยู่แล้วตั้งแต่ต้น สมมุติว่าเราพิสูจน์ได้ว่า
นักเรียนทั้งสองกลุ่มเก่งพอๆ กัน ตั้งแต่ก่อน การทดลอง คำถามก็อาจตามมาอีกว่า แล้วรู้ได้อย่างไรว่า
ไม่มีตัวแปรอื่นๆ เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง เช่น นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีใหม่มีความขยัน มากกว่า
มีผู้สอนพิเศษอยู่ที่บ้าน หรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจจะมีผล ต่อผลการวิจัย เพราะฉะนั้นการได้
ตีพิมพ์ผลงานในวารสารงานวิจัยสาขาธุรกิจนั้น ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างนอกเหนือจากตัวผลงาน
จริงๆ ซึ่งพี่ว่ามันเป็น การทดสอบความสามารถอีก รูปแบบหนึ่งที่แตกต่างจากสาขาวิทยาศาสตร์
๓. ผู้ทำวิจัยจะต้อง “Stay Current” (ต้องขออภัยที่ใช้ทับศัพท์นะคะ) ในการทำวิจัยทำให้เราต้องอ่าน
และศึกษา ทิศทาง ของงานวิจัยใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้แน่ใจว่างานวิจัยของเรา ไม่ไปซ้ำซ้อน
กับเรื่องที่คนอื่นเขาทำมาแล้ว งานวิจัยที่ดีตัองสามารถ ระบุประโยชน์ที่ จะได้รับจากงานวิจัยได้อย่าง
ชัดเจนถ้าจะให้ดีกว่านั้น ต้องสามารถบอกแก่ผู้อ่านได้ว่าเขาจะนำผลงานวิจัยนั้นๆไป ประยุกต์ใช้ให้ได้
ประโยชน์อย่างไรต่อไป
เพราะฉะนั้น งานวิจัยที่พี่ทำมักจะเป็นเรื่องใกล้ตัว อย่างเทอมนี้ที่คณะของพี่ พี่เพิ่งเปิดสอนวิชาการบริหาร
ธุรกิจผ่านสื่อออนไลน์ (Online MBA) ดังนั้น งานวิจัยระยะหลังๆ ของพี่จะเน้นไปที่การค้นหาตัวแปรที่จะ
ทำให้การเรียนการสอนได้ประโยชน์สูงสุด หรือ ศึกษาวิจัยหาวิธีที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สูงสุด
|
คำถาม อาจารย์คิดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า การค้นคว้าวิจัยใน สาขาของอาจารย์จะเป็น
ในทิศทางใด
|
พี่ไม่สามารถให้คำตอบได้จริงๆ แต่ที่พี่เชื่อก็คือการทำวิจัยที่ดีคือ การค้นหาคำตอบที่ถูกต้องและเหมาะ
กับสถานการณ์ปัจจุบัน พี่ชอบทำวิจัยในเรื่องที่ต้องการคำตอบที่มีเหตุมีผลชัดเจนและให้ประโยชน์
ต่อไปแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง การค้นหาคำตอบในเรื่องที่เราอยากรู้จะทำให้เราสนุกกับการค้นหา เพราะฉะนั้น
อีก ๑๐ ปีข้างหน้า พี่อยากรู้เรื่องอะไรที่มีประโยชน์ ณ เวลานั้น พี่ก็อยากให้งานวิจัยในสาขาพี่สนใจ
เป็นไปในทิศทางนั้นค่ะ
|
คำถาม ในช่วงที่ผ่านมานี้ มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในวงการของอาจารย์หรือไม่ และมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใดที่สามารถทำกลับมาประยุกต์ใช้ได้ในประเทศไทย
|
เทคโนโลยีใหม่ๆ มีมากมายในขณะนี้ เอาที่ใกล้ตัวสุดๆ ก็คือ สื่อเว็บไซต์ที่เราใช้อยู่อยู่ทุกวันนี้ไงคะ ย้อนหลังไปประมาณ ๓๐ ปีก่อน เรายังใช้พิมพ์ดีดอยู่เลย เดี๋ยวนี้อยากรู้อะไรก็ถาม Google ได้ทุก อย่างใช่ใหมคะ และยังไม่นับ face book และสื่อ social network อื่นๆ อีกมากมาย การที่พี่อยู่ใน
แวดวงการศึกษา เทคโนโลยีที่น่าสนใจก็มัก จะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียน
การสอนได้ เช่น Blackboard และ Second Life เป็นต้น ซึ่งต่อไปในอนาคต เมื่อประเทศไทยมีความ
พร้อมในด้านบุคคล และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้
|
คำถาม ในความคิดของอาจารย์ อะไรคืออุปสรรคในการ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ของประเทศไทย และ เราจะจัดการกับอุปสรรคนี้อย่างไร
|
พี่ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะพี่เรียนมาทางสายการบริหารหรือเปล่าความเห็นและมุมมองของพี่อาจจะ
แตกต่างจากนักวิทยา- ศาสตร์และนักวิจัยท่านอื่นๆ พี่เห็นว่าไม่ว่าการจัดการใดๆ มันต้อง เริ่มต้น
จากการบริหารจัดการที่ถูกต้องและบุคลากรที่มีคุณภาพ เมื่อย้อนดูประเทศ องค์กร หรือบริษัทที่
ประสบความสำเร็จ จะพบ ได้ว่าเงื่อนไขเริ่มต้นคือการมีทีมบริหารที่ดีและมีคุณภาพ ส่วนในแง่ของ
ความรู้ความสามารถ พี่ว่าประเทศไทยมีเยาวชนไทย ที่เก่งๆ พอสมควร แต่ปัญหาก็คือเยาวชน
คุณภาพเหล่านั้นขาดการ ส่งเสริมที่ถูกทาง และแรงสนับสนุนที่ต่อเนื่อง
วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ทำได้ไม่ง่ายนัก การที่จะเป็นผู้นำ ทางเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเหนือความสามารถ ถ้าคิดจะทำจริงๆ พี่เชื่อว่าถ้าถามคนไทยส่วนใหญ่ว่าอยากจะให้
ประเทศเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีหรือไม่ ก็จะได้รับคำตอบประมาณว่า “ก็ดีนะ…แต่จะทำยังไงล่ะ?” นี่แหละคือปัญหาว่าทำไมการพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยจึงไม่พัฒนา
ไปเท่าที่ควร เพราะการเป็นผู้นำไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางด้านใด เงื่อนไขที่สำคัญ คือ ต้องคิดก่อนและทำให้สำเร็จก่อนคนอื่น ไม่ใช่ทำตามคนอื่น การประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งที่ไม่มีคนทำมาก่อน แน่นอนว่ามันไม่ง่าย ปัจจัยสำคัญ นอกเหนือจากความพยายามทุ่มเทอย่างหนัก ก็คือเงินทุนและเวลา พี่เชื่อว่าประเทศไทยอาจจะมีโครงการหลายๆ โครงการที่ดี แต่การ พัฒนาโครงการไปไม่ถึงไหนเพราะการขาดการปฏิบัติและการสนับ สนุนที่ต่อเนื่อง ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ยกเลิกไป เป็นการเสียทรัพยากร ทั้งทางด้านบุคลากร (ที่จะท้อแท้ไปเอง) เงินทุนและเวลาไปโดย ใช่เหตุ บางท่านก็อาจจะแย้งว่า ถ้าโครงการมันไม่ดี ดันทุรังทำไป จะไม่ยิ่งเสียหายกว่าเดิมหรือ คำถามนี้ก็ย้อนกลับไปที่ประเด็นที่พี่ พูดถึงในข้างต้นว่าทุกอย่างควรเริ่มต้นจากการบริหารที่ถูกต้อง นักบริหารที่ดี นอกจากต้องเป็นคนดีแล้วยังต้องมีวิสัยทัศน์ที่ แม่นยำมีความเป็นผู้นำและเป็นนักแก้ปัญหา
ก่อนอื่นต้องถามคน ในประเทศให้ได้คำตอบชัดๆ ก่อนเลยว่า เราอยากจะเป็นเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจริงหรือไม่ ถ้ามั่นใจ ว่าเราอยากจะเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยี ก็ทำเลย คำถาม ต่อมาก็คือ แล้วจะเป็น ผู้นำทางเทคโนโลยีทางด้านไหน โครงการที่ จะทำเหมาะสมกับประเทศไทยหรือเปล่า นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง หรือไม่ การประเมินผลสำเร็จวัดได้อย่างไร มีมาตรการวัดผลเป็น ขั้นเป็นตอนหรือไม่ เปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมรับรู้ และสนับสนุนหรือเปล่า สรุปง่ายๆ พี่มองการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเหมือนการผลิตและพัฒนาสินค้าชนิดหนึ่ง สินค้าที่ดี ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีความเป็นเอกลักษณ์ (unique) เป็นที่ต้องการของตลาด ทำประโยชน์ได้จริง และสุดท้ายสามารถ สร้างรายได้เลี้ยงตัวเองได้ เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งๆขึ้นไป
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน (OSTC) ที่ให้โอกาสตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อของสำนักงาน ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ นะคะ
|
source : http://www.ostc.thaiembdc.org/interview9.html
Leave a Reply