สมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา (the Association of Thai professionals in America and Canada – ATPAC) ร่วมกับ สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน (ปว.(วต.)) และการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน จัดการประชุมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐฯ เพื่อต่อยอดผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-สหรัฐฯ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-สหรัฐฯ (JCM) ครั้งที่ 3 ณ นครเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ในวันที่ 9 กันยายน 2566
โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติมาเป็นประธานและองค์ปาฐก พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานในสังกัดที่มีบทบาทสำคัญในเวที JCM อาทิ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และหน่วยงานจัดสรรทุน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และหน่วยงาน อว. ที่สนับสนุนด้านสังคมศาสตร์ มนุษศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ อย่างธัชชา ที่จะมีบทบาทดูแลสนับสนุน Soft Power
ผู้เข้าร่วมประชุม 36 ท่าน ประกอบด้วยหน่วยงานจากประเทศไทย และผู้แทนสมาคมวิชาชีพ 6 สมาคม โดยนอกจาก ATPAC แล้วยังมี สมาคมแพทย์ไทยแห่งสหรัฐอเมริกา (Thai Physicians Association of America: TPAA ) องค์กรสามัคคีไทยอเมริกัน (Thai American Samakkee Coalition) สมาคมนวดไทยและสปาแห่งสหรัฐฯ (Nuad Thai and Spa Association of America: NTSAA) สมาคมทนายความไทย-อเมริกัน (Thai American Bar Association – TABA) และสุดท้าย สมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐฯ (Association of Thai Students in United States of America: ATSA) สมาคมน้องใหม่ที่รวมคนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความมุ่งมั่นจะมาช่วยพัฒนาประเทศไทย
โดยในช่วงเช้าของการประชุม เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลขององค์กรและสมาคมต่างๆ เช่น บทบาทและหน้าที่ ขอบเขตความสามารถในการทำประโยชน์เพื่อประเทศไทยในแง่มุมต่างๆ และความคาดหวังจากการประชุมในครั้งนี้
การประชุมในช่วงบ่ายเป็นการประชุม working group กลุ่มย่อยที่มีการแบ่งกลุ่มตามความเชี่ยวชาญและบทบาทหน้าที่ ผู้เข้าประชุมร่วมกันระดมความคิดหาข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมที่จะนำไปสู่การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานไทยและสหรัฐทางด้าน energy (carbon capture and sequestration หรือเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน, hydrogen economy หรือระบบเศรษฐกิจไฮโดรเจน, energy storages หรือเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน เป็นต้น), water resources management under climate variability หรือการจัดการทรัพยากรน้ำภายใต้ความไม่แน่นอนในการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ , water reuse หรือการนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ , และ PFAS Detection and Quantification และการตรวจจับและการหาปริมาณสารเคมีพิษ PFAS” โดยผู้ประสานงานฝ่ายไทยจะมี บพค. และ ปว.(วต.)
การประชุมครั้งนี้ เป็นการระดมพลังสมองและวิชาชีพของคนไทยในสหรัฐฯ ที่เดินมาจากทั่วสารทิศเพื่อผนึกกำลังกับทีมข้าราชการไทยจากส่วนกลางและทีมประเทศไทยของสถานเอกอัครราชทูต จึงนับเป็นโอกาสครั้งใหญ่เราจะได้เห็นการรวมพลังของคนไทยที่ช่วยคิด ช่วยทำ เพื่อนำพาความร่วมมือ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ กฎหมาย และศิลปะต่างๆ ต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับประเทศเรา และประชาคมโลกในภาพรวมต่อไป
ผลที่ได้รับจากการประชุมกลุ่มย่อย
“The primary goal of this meeting was to develop action plans for implementing the projects discussed during the US-Thailand Joint Committee Meeting (JCM) in June 2023. After discussing with the Program Management Unit for Human Resources & Institutional Development, Research and Innovation (PMU-B) The meeting achieved success by producing action plans in key areas, including:
1. Carbon capture: Establishing a US-Thailand consortium to address climate change mitigation.
2. Human resource development for water resource management under climate variability: Preparing for submission to the Department of Groundwater Resources via OHESDC.
3. Effective water reuse: Preparing for submission to the National Resource Council Thailand through OHESDC.
4. PFAS detection and quantification: Preparing for submission to the Foreign Agricultural Office via OHESDC. These action plans represent significant progress in advancing collaborative efforts between the US and Thailand.” – Dr. Methi Wecharatana, ATPAC President
Leave a Reply