ตามที่รัฐบาลอยู่ระหว่างการปฏิรูปในหลายมิติ ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) นั้น ขณะนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (วท.) อยู่ระหว่างการขอรับข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติฉบับใหม่ เพื่อทดแทน พ.ร.บ. ว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ฯ ได้แก่ การปรับปรุงนิยามคำว่า “นวัตกรรม” และถ้อยคำที่เกี่ยวข้องในระบบนวัตกรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การตอบโจทย์ภาคการผลิตและบริการด้วย วทน. (Demand Driven) จากลักษณะเดิม ที่เป็นการพัฒนา วทน. เพื่อความสามารถทาง วทน. (Supply Push)
การเน้นบทบาทภาคเอกชน ตลอดจนเพิ่มความสำคัญบทบาทภาคประชาสังคม/ ชุมชน
ท้องถิ่น จากเดิมที่ให้ภาครัฐเป็นหลักในการขับเคลื่อน เป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนวิจัยในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถช่วยนำนวัตกรรมสู่ประชาชน และกำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนอยู่ในคณะกรรมการที่ปรึกษา วทน. แห่งชาติ การขับเคลื่อน วทน. โดยเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และนวัตกรรม (กวทน.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในการกำหนดนโยบายและแผนที่มีงบประมาณ บูรณาการตามยุทธศาสตร์ (program-based budgeting) รองรับ โดยเชื่อมโยงกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีนัยที่ส่งผลให้ สนง. คกก. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ย้ายไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แทนที่จะสังกัดภายใต้ วท.
ทั้งนี้ วท. เห็นว่า แผนการทูตวิทยาศาสตร์ที่อยู่ระหว่างการร่วมจัดทำกับกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูป วทน. ด้วย
————————-
ข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
พฤษภาคม 2558
Leave a Reply